วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่2

 

    วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าเรียนในคลาส โดยอาจารย์ให้นักศึกษาได้นั่งเป็นโรงเรียนที่ได้ออกสังเกตการสอน และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแชร์เรื่องของการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนว่าเป็นยังไงบ้าง และได้เพิ่มเติมในเรื่องต่างๆตามความเหมาะสมตามโรงเรียนนั้นๆ จากนั้นก็ได้เข้าสู่บทเรียน

การสอนแบบโครงการ
              การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา

        การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
        เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีหากได้สนทนาร่วมกับเพื่อนและครูเป็นกลุ่มย่อย ในบริบทที่เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการสำรวจจริงๆ ครูสามารถแนะนำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มใหญ่ด้วย

          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา การทำงานภาคสนามของเด็กไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปนอกสถานที่เสมอไป อาจเป็นการสำรวจสิ่งปลูกสร้าง หรือสนามของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในโรงเรียน การวัด การทำแผนที่ ฯลฯ
หากต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ภาคสนามนอกโรงเรียนอาจเลือกพาเด็กไปสำรวจบริเวณใกล้ๆ โรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนน ป้ายต่างๆ บ้าน สนาม อาคาร โบราณสถาน สถานีขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจัดให้เด็กได้พูดคุยกับบุคคลซึ่งเป็นภูมิปัญญาในเรื่องนั้น ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ใช้บริการสาธารณะ ฯลฯ
        การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย

        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา การกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่การสืบค้น การแสดงสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ เด็กๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ การสร้างแบบจำลองต่างๆ ฯลฯ 
        เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง

        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่

                    ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก 
                    ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
                    ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ 


การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ

( Waldorf  Method)

                     การศึกษาปฐมวัย  เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย  ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา  รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน  จุด                                                สำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ  แนวคิดพื้นฐาน  หลักการสอนวิธีจัดการเรียนการสอนการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บทบาทครู 

แนวคิดพื้นฐาน

                การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่

             รูดอล์ฟ  สไตเนอร์  ( Rudolf  Stiner ,  1861 – 1925 )  ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ  ( Waldorf  School )  แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต  ประเทศเยอรมนี  เมื่อเดือนกันยายน  ค.ศ.  1919  โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ  ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี  สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์

              แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ  เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี

หลักการสอน

                หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์  3  ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง

วิธีจัดการเรียนการสอ 

 การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 

                การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ  บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน

 บทบาทครู 

                ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก  งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง  การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย  ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก

                ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ

สรุป

            ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ  ได้แก่  การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้  การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า  ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง


รูปแบบการจัดการเรียนสอนแบบภาษาธรรมชาติ

 การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )

จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้

      1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย        

       2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน

       3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมาย ในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่าน เป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน                                            

       4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียน  ตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน 

      6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่า เป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่าง เป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น 

       7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว

        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้

หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสเซอรี่

        หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิด คำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้มีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตนเอง ให้เด็กเกิดการพัฒนาการทุก ๆ                                                 ด้านไปในเวลาเดียวกัน

หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่

        1. การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)

        2. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)

        3. การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

วิธีการจัดการเรียนการสอน

        เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง

                    การเตรียม            =   ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้

                    การดำเนินการ      =  ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 

                    ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

 การจัดสภาพแวดล้อม
            ห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) นั่งสบาย บรรยากาศเหมือนบ้าน มีเครื่องใช้อุปกรณ์ที่จัดอย่างมีระเบียบ ของใช้จะมีขนาดเหมาะสมกับเด็ก ติดกระดาน    ในระดับที่เด็กสามารถใช้งานได้ มีพื้นที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบนพื้นได้ ชั้นวางของมีความสูงในระดับที่เด็กสามารถหยิบใช้งานได้.

บทบาทครู

        1.จัดสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ (อุปกรณ์4หมวด บรรยากาศ บุคคล)
        2. เชื่อมโยงเด็กกับอุปกรณ์ โดยสาธิตการใช้อุปกรณ์
        3. มีความรักเด็ก ความรักเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิต
        4. ยอมรับนับถือเด็ก ให้อิสระในการเลือก คิด ทำ
        5. ให้เด็กศึกษาค้นพบด้วยตนเอง
        6.ไม่ตำหนิ ทำโทษ หรือให้รางวัล ถ้าเด็กทำสำเร็จจะเห็นคุณค่าในตน และเป็นพลังในการที่จะเรียนรู้ต่อไป
        7.สังเกตพฤติกรรมเด็ก บันทึกข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
        8.พัฒนาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ถึงขีดสุดของศักยภาพของแต่ละบุคคล
        9. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา และ จิต ใจ
        10. พบปะผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นระยะ

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ

        1.มีพัฒนาการทุกด้านเต็มตามศักยภาพ
        2.มีระเบียบวินัย
        3.มีสมาธิในการทำงาน รักความสงบ
        4.ควบคุมตนเองและพึ่งพาตนเองได้
        5.ทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
        6.รู้สิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น 
        7.มีมารยาทตามวัฒนธรรมที่ตนอาศัยอยู่
        8.รักอิสระและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
        9.รักสิ่งแวดล้อม

การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป

หัวใจของไฮ/สโคป

             หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น  ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่

             1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้

             2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน

             3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

 

องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป

             องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปที่นับว่าเป็นจุดเด่นของการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ และทำให้เป็นรูปแบบการเรียนรู้นี้แตกต่างจากแนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ นั้น จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึง 6 องค์ประกอบด้วยกัน จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 6 ข้อ มีดังนี้

             1. เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่

             2. จัดเตรียม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ในห้องเรียนให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับอายุของเด็ก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกวัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ และควรมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบนี้ช่วยให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหามากขึ้น

             3. พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงมีการจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านบทบาทสมมุติในมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และควรจัดสรรเวลาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักการรักษาเวลาอีกด้วย

             4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง

             5. ภาษาจากเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

             6. ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ

 

ภาพ : shutterstock.com

 

             การจัดการเรียนรู้แบบ ไฮ/สโคป (High Scope) นั้น ถือเป็นแนวการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าสนใจมากแนวทางหนึ่ง และในปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในการเผยแพร่แนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ โดยเห็นได้จากมีโครงการนำแนวการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนี้ ไปนำร่องพัฒนาห้องเรียนอนุบาลใน 82 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นโรงเรียนต้นแบบก่อนขยายสู่โรงเรียนอนุบาลอื่น ๆ

             นวัตกรรมจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮ/สโคปนั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาที่มีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active Participatory Learning คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง


สำหรับวันนี้อาจารย์ให้สอนเพลงให้กับนักศึกษา 2 เพลง ซึ่งเป็นเพลงของ ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พร้อมกับทำท่าประกอบ

1. มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง

2.นั่งขัดสมาทให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงซิ ตั้งสติให้ดี
      ภาวนาในใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
   หลังจากนั้นก็ได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มตามโรงเรียน แต่ป็นการนำความรู้เดิมเรื่องของกิจกรมการเคลื่อนไหว มาเขียนนำเสนอออกมาใส่แผ่นชาจเป็นแผนผังความคิด 






การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

ตัวอย่างการฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
1) ก้มศรีรษะ กลับตั้งตรง หงายศีรษะไปข้างหลัง กลบสู่ท่าตรง
2) เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ชูขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
3) ยกมือทั้งสองแตะไหล่ ชูมือขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
4) เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้เปลี่ยนท่าใหม่โดย ไม่ให้ซ้ำกัน

2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
 1) การเดิน
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- เดินไปรอบๆ บริเวณ โดยระวังไม่ให้ชนกัน
- เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ให้จำนวนก้าวน้อยครั้งที่สุด ฯลฯ
2) การวิ่ง
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- วิ่งไปให้ทั่วบริเวณโดยไม่ให้ชนกัน
- วิ่งไปข้างหน้าแล้ววิ่งถอยหลัง เมื่อได้ยินสัญญาณให้เปลี่ยนท่าสลับกัน ฯลฯ
3) การกระโดด
 ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- ให้เด็กกระโดดขาเดียวไปรอบๆ บริเวณ โดยสลับขาบ้าง ให้เหวี่ยงแขน ขยับไหล่ หรือขยับ ร่างกายส่วนอื่นไปด้วย

การเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ
 สูง เช่นการเขย่
 กลาง ระดับปกติของไหล่    
 ต่ำ ระดับต่ำกว่าไหล เช่น ก้ม 

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

ประเมิน
ตัวเอง : ยังมีลืมๆเนื้อหา คิดช้า แต่ร่วมทำงานกับเพื่อนๆได้ดี
อาจารย์ : อาจารย์กระตุ้นนักศึกษาให้ได้เกิดความคิดความรู้เดิมนำมาใช้ใหม่
เพื่อน : เพื่อนยังไม่ค่อยกระตือรือร้นเท่าไหร แต่ก็ช่วยงานกลุ่มกันได้ดี


บันทึกการเรียนครั้งที่1

 

บันทึกการเรียน ครั้งที่1

10/8/63



                            สัปดาห์แรกของการเปิดเรียน แต่อาจารย์ติดธุระจึงได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาดังนี้ ให้นักศึกษาสร้างบล็อคสำหรับรายวิชานี้ และสร้างองประกอบของบล็อคให้ครบถ้วนเหมือนเทอมที่ผ่านมา โดยมี ตัวอย่างการเรียนการสอนที่มีหน่วยงานหรือองค์กรรองรับ บทความ และวิจัย5บท ซึ่งแต่ละงานนั้นจะต้องไม่ซ้ำกับเพื่อนๆในห้อง

สรุปบทความ

แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

              คือการที่เด็กเรียนรู้ภาษาได้จากสิ่งแวดล้อมรอบด้านในชีวิตประจำวันและการเลียนแบบ โดยการสอนภาษาธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะไม่เน้นให้เด็กต้องท่องตัวอักษรได้ ไม่เน้นการท่องจำเพื่อให้อ่านออกเขียนได้เหมือนการเรียนการสอนทั่วไป แต่จะพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน 

1. ทักษะการฟัง

เด็กจะได้ฟังจากการเล่านิทาน ฟังเพลงนิทาน และเพลงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางการฟังภาษา โดยจะต้องเป็นภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเมื่อเด็กฟังแล้วจะได้เชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเข้ากับคำที่ได้ยิน เช่น ใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เด็กก็จะเชื่อมโยงคำว่าช้อนเข้ากับการใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เป็นต้น

2. ทักษะการพูด การอ่าน

ผู้ปกครองหรือครูจะใช้คำถามเพื่อให้เด็กตอบและกล้าแสดงความคิดออกมาเป็นคำพูด อาจใช้การแสดงบทบาทสมมติกับเด็ก ๆ สลับกับการเล่านิทาน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เปิดหนังสือดูภาพและเล่าเรื่องจากภาพเอง ซึ่งสิ่งที่เด็กเล่าออกมา อาจมาจากจินตนาการของตัวเด็กเอง เนื้อเรื่องอาจไม่ได้ตรงตามหนังสือ แต่จะเน้นให้เด็กได้เห็นภาพและเชื่อมโยงออกมาเป็นคำพูด

3. ทักษะการเขียน

เด็กจะได้วาดภาพตามจินตนาการหรือปฏิบัติตามคำสั่ง อาจทำเป็นงานเดี่ยวหรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เช่น การช่วยกันวาดภาพแต่งนิทานและเขียนเล่าเรื่องลงในภาพ อาจจะมีการสะกดคำง่าย ๆ ซึ่งไม่ใช่การท่องจำแต่จะเป็น การสอนในรูปประโยคที่ทำให้เด็กเชื่อมโยงไปสู่การฟัง การพูด และการอ่าน

แนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติภายในโรงเรียน

โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนภาษาธรรมชาตินั้น โดยส่วนมากจะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษา โดยไม่บังคับหรือสอนให้ท่องจำ แต่จะส่งเสริมให้เด็กกล้าใช้ภาษาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งภายในชั้นเรียนจะจัดให้มีมุมที่มีการส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เช่น มุมอ่าน มุมบทบาทสมมติ มุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในทุก ๆ มุมจะติดป้ายหรือสัญลักษณ์ มีทั้งภาพและตัวอักษรที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก ในการเรียนรู้เด็ก ๆ จะมีโอกาสและมีเวลาในการตัดสินใจที่จะเลือกกิจกรรมที่อยากปฏิบัติด้วยตัวเด็กเอง

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการเรียนรู้ในชั้นเรียนของเด็กอนุบาล ซึ่งครูก็ควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบ การที่คุณครูแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและแนวทางที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติ จะทำให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่14

    สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเทอมนี้ ซึ่งอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาและให้นักศึกษาเขียนทบทวนความรู้ที่เราได้เรียนมาทั้งหมด โดยอาจารย...