วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่14

 


  สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเทอมนี้ ซึ่งอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาและให้นักศึกษาเขียนทบทวนความรู้ที่เราได้เรียนมาทั้งหมด โดยอาจารย์ให้หัวขอมาและเราเขียนว่าแต่ละข้อนี้มีประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลักๆยังไงบ้าง

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์ 
เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรี 
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
 เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้ง 
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

6. กิจกรรมเกมการศึกษา
 เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน








การประเมิน
ตนเอง ได้คิดวิเคราะห์และทบทวนสิ่งต่างๆที่เราได้เรียนมาทั้งหมด
เพื่อน    ตั้งใจทำงานได้ดี
อาจารย์  พยายามสอนให้นักศึกษาเข้าใจและให้นักศึกาษาได้ฝึกการคิด


บันทึกการเรียนครั้งที่13

 

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้แก้ไขแผนของตนเอง เพื่อให้ถูกตองและสมบูรณ์ และมีการวิเคราะห์ร่วมกันภายในห้องเรียน โดยจะมีหัวข้อหลักๆดังนี้

 พัฒนาการ (Development) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพของการทำหน้าที่ต่างๆ ของบุคคล ทำให้เพิ่มความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และทำสิ่งที่ยาก และซับซ้อนขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปฏิสนธิจนบรรลุวุฒิภาวะ

       ตัวบ่งชี้ (Indicator) หมายถึง  ตัวประกอบ ตัวแปร หรือค่าที่สังเกตได้ ซึ่งบ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานที่สามารถ วัดและสังเกตได้   เพื่อบอกสภาพทั้งทางเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการ ในภาษาไทยมีที่ใช้อยู่หลายคำ  เช่น  ตัวชี้วัด ดัชนี  ซึ่งตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพฯ  ภายนอกรอบสามจะประกอบด้วยตัวบ่งชี้  

      วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมาย หรือผลที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมาย ที่เห็นเป็นการแสดงพฤติกรรมวัดได้ สังเกตได้


ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน








การประเมิน
ตนเอง ได้รู้จุดด้อยของตนเองมากขึ้น และจะได้นำไปแก้ไขปรับปรุง
เพื่อน บางคนค่อนข้างเข้าใจยากและมักจะคอยถามเพื่อนอีกรอบ 
อาจารย์ อธิบายบ่อยครั้งมากเพื่อที่จะให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพ เพื่อที่จะให้เราได้นำไปแก้แขได้ตรงจุและถูกต้อง



วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่12

 

อาจารย์ให้นักศึกษานำโบชัวร์มาคนละ3 แผ่น เพื่อที่จะให้มาทำกิจกรรมในห้องเรียน กลุ่มดิฉันได้ทำเกี่ยวกับของใช้

โดยมีอุปกรณ์ ดังนี่้

1.กระดาษ A4 

2.โบชัวร์

3.กรรไกร

4.กาว

5.ปากกาเคมี


ขั้นตอนการทำ

1.สังเกตดูว่าในโบชัวร์ที่นำมานั้น สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่อะไรได้ เช่น หากมีรูปของกินเยอะ อาจจะให้เป็นหมวดของกิน ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็ให้เป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.ตัดรูปภาพตามหมวดที่เรากำหนดขึ้น เช่น หมวดของกิน ก็ตัดแต่รูปของกิน

3.เมื่อเราได้รูปภาพแล้ว ก็เริ่มแปะลงในกระดาษ โดยในการแปะนั้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความพอดี และความสวยงาม โดยเว้นขอบกระดาษ รูปภาพต้องอยู่บนคำศัพท์ 

4.หากเป็นหมวดของกิน ให้เขียนว่า ฉันชอบกิน...โดยมีรูปภาพพร้อมคำศัพท์ 

5.คำศัพท์ที่เขียนนั้น ควรเป็นปากกาที่สีแตกต่าง เช่น ฉันชอบกิน ซาลาเปา (ใช้ปากกาเน้นสีเพื่อให้เด็กรู้คำศัพท์)

6.ในหน้าสุดท้ายควรมีข้อควรระวังในแต่ละหมวด

7.จากนั้นทำการรวมเล่ม


                                                               ภาพ ผลงานของกลุ่มพวกเรา









ที่มาของหลักสูตรการศึกษาประฐมวัยไทย

- 2520 หลักสูตรรอนุบาลศึกษา 3 ถึง 5 ปี

 - 2536 หลักสูตรก่อนประถมศึกษา 3 ถึง 5 ปี 

 - 2540 หลักสูตรก่อนประถมศึกษา 3 ถึง 5 ปี 

- 2546 หลักสูตรการศึกษาประฐมวัย


พุทธศักราช 2546 

(ต่ำกว่า 3 ปีและ 3 ถึง 5 ปี )

- 2560 หลักสูตรการศึกษาประฐมวัย

พุทธศักราช 2560

( ต่ำกว่า 3 ปีและ 3 ถึง 6 ปีบริบูรณ์ )


หลักการหลักสูตรพ.ศ. 2560 

จัดการเรียนรู้ให้กับเด็กทุกประเภท

จัดการศึกษาที่เน้นความเป็นปัจเจกของเด็ก

ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมและการสื่อภาษา

ให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม

พัฒนาทักษะชีวิต  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  การเป็นคนดีมีวินัย


ปรัชญา 

หลักสูตรการศึกษาประฐมวัยคือ

- Education :  ส่งเสริมพัฒนาการสั่งสอน

- Care : ดูแลสุขภาพกายใจ

ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของ

- วัฒนธรรมความเป็นท้องถิ่น

- คุณภาพชีวิตสุขภาพดี ครอบครัวดี

เพื่อการเป็นคนที่สมบูรณ์และมีคุณค่า


คุณลักษณะเด็กที่พึงประสงค์

- เจริญเติบโตสมไวและมีสุขค่ะนิสัยที่ดี

- กล้ามเนื้อใหญ่เล็กแข็งแรงคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

- สุขภาพจิตดีมีความสุข

- ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว

- มีคุณธรรมจริยธรรม

- รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และรักความเป็นไทย

- ใช้ภาษาตามวัยได้อย่างดีและสนใจ การเรียนรู้

- มีทักษะชีวิตและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- คิดเป็นและสร้างสรรค์


ประสบการณ์เรียนรู้

นอกจากการพัฒนาเด็กแบบองค์รวมภาษาและจริยธรรมแล้วสิ่งที่เพิ่มในหลักสูตรใหม่คือ

- การเรียนรู้คณิตศาสตร์

- การแก้ปัญหาการเชื่อมโยงและตัดสินใจ

- การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- การเป็นคนมีวินัย


การจัดการเรียนรู้ + มาตราฐาน การศึกษาหลักสูตรพ.ศ. 2560

 เรียนรู้คณิตศาสตร์และการใช้เหตุผล

เรียนรู้การคิดและสร้างสรรค์

เรียนรู้ทักษะชีวิต ; ปรับตัวได้ แก้ปัญหาเป็น

เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรียนรู้ความมีวินัย


หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร 2560

- พัฒนาร่างกายและสุขนิสัย

- พัฒนาสุขภาพจิตและสุนทรียภาพ

- พัฒนาคุณภาพจริยธรรม

- พัฒนาการใช้ภาษาสื่อสาร

- พัฒนาความสนใจการเรียนรู้

- พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์

- พัฒนาทักษะการคิดและสร้างสรรค์

- พัฒนาทักษะชีวิต

- พัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- พัฒนาความมีวินัย


กำหนดเวลากิจกรรม

ตามระยะความสนใจของเด็ก

 3 ถึง 4 ขวบ 8 ถึง 12 นาที

4 ถึง 5 ขวบ 12 ถึง 15 นาที

5 ถึง 6 ขวบ 15 ถึง 20 นาที

ทำงานกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ไม่เกิน 20 นาที


ลำดับการพัฒนาทักษะการคิด

อนุบาล 1 จำเข้าใจ

อนุบาล 2 นำไปใช้ วิเคราะห์ 

อนุบาล 3 ประเมิน สร้างสรรค์


เล่านิทานให้คิด 

จำ.............อะไร

เข้าใจ.......ทำไม

นำไปใช้...อย่างไร

วิเคราะห์...เพราะอะไร

ประเมิน....จะเรียกสิ่งใดเพราะอะไร

สร้างสรรค์.ให้ทำชิ้นงาน


การพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การรู้จักพอเพียง

การรู้จักใช้เหตุผลในการทำงาน

การมีระเบียบในการทำงาน

การรู้จักใช้ความรู้ในการทำงาน

การมีความซื่อสัตย์ในตน

การมีความอดทนในงาน

การมีความเพียรอย่างมีเป้าหมาย


กิจการปัญาเศรษฐกิจพอเพียง

การตักอาหารพอดี

การปูและจัดที่นอน

การมีเป้าหมายการทำงาน

การตั้งไจทำงานและพยายาม

การทำตามเวลา

การอดทนรอคอย

การบอกเหตุผลในการคิดการทำ


การประเมิน
ตนเอง ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆภายในกลุ่มเป็นอย่างดี
เพื่อน  ช่วยกันทำงานแบ่งหน้าที่ได้ดี
อาจารย์ คอยบอกวิธีการทำเป็นช่วงๆ

บันทึกการเรียนครั้งที่9

 

วันนี้เป็นการดูคลิปการสอนของเพื่อนๆแต่ละคน และอาจารย์ก็ได้วิเคราะห์พร้อมกับชี้แนะแนวทางข้อเสนอะแนะให้กับนักศึกษาเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นและเหมาะสมถูกต้อง





การสอนนั้นจะต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆ ดังนี้

ขั้นนำ (introduction)

ขั้นสอน (body)

ขั้นสรุป (conclusion)
ขั้นประเมินผล (assessment)

4 ขั้นตอนนี้นำมาใช้เป็นขั้นตอนในการนำเสนอเหตุการณ์การเรียนการสอนของกานเย และวิเคราะห์ลักษณะของ
เหตุการณ์การเรียนการสอน ตามลักษณะบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
แบบที่ 1 เป็นแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายริเริ่มหรือเป็นผู้มีบทบาทนำ โดยผู้เรียนเป็นผู้สืบสอบค้นพบ
ความรู้ด้วยตนเอง (exploratory) หรือแบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (student-center)
แบบที่ 2 เป็นแบบที่ผู้สอนเป็นฝ่ายริเริ่มหรือเป็นผู้มีบทบาทนำในการเสนอการเรียนการสอน
โดยใช้การบอก อธิบายให้แก่ผู้เรียน (expository) หรือแบบที่ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (teacher-center)
แบบที่ 3 เป็นแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทร่วมกันในเหตุการณ์การเรียนการสอน
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนอกจากจะคำนึงถึงขั้นตอนในการนำเสนอกิจกรรมการเรียน
การสอนว่ามีลำดับอย่างไรแล้ว

1. ขั้นนำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ส่งเสริมความสนใจและกระตุ้น
ให้ผู้เรียนได้ระลึกถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เรื่องใหม่ ซึ่งเก็บไว้ในความจำระยะยาวนำ
กลับมาสู่ความจำทำงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้เรื่องใหม่ เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้
ประกอบด้วย
1) การสร้างความสนใจ ทำได้โดยการตั้งคำถามที่ดึงความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน
ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือเรื่องที่เป็นประสบการณ์ใกล้ตัว ผู้สอนอาจใช้การสาธิต การนำเสนอภาพ
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนเป็นการดึงความสนใจของผู้เรียน
2) การบอกจุดประสงค์แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้ว่าพฤติกรรมหรือการกระทำอย่างใด
ที่แสดงผลการเรียนรู้ของตนหรือเป็นสิ่งที่ผู้สอนคาดหวัง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตั้งจุดมุ่งหมายอย่าง
ชัดเจนในการเรียนรู้ในครั้งนั้น ๆ
3) การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงการเรียนรู้ที่มีมาก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์
ของการเรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้มาก่อน เพื่อให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำ
ได้โดยการพูดคุย สนทนา การใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

2. ขั้นสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ดึงเอาความรู้เดิมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่นำ
ออกมาใช้สร้างความรู้ ความเข้าใจกับสารสนเทศใหม่ที่ได้รับ เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้
ประกอบด้วย
1) การนำเสนอความรู้และสื่อการเรียนรู้ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การสาธิต การ
นำเสนอตัวอย่าง การบอกเล่าโดยตรง การให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบ ในการนำเสนอความรู้อาจใช้วิธีอุปนัยหรือ
วิธีนิรนัย ถ้าเป็นการเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นรูปธรรมควรใช้วิธีอุปนัย โดยให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่าง
หลากหลายแล้วสรุปความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเอง แต่ถ้าเป็นเรื่องนามธรรมควรใช้วิธีนิรนัย และ
อาจนำเสนอด้วยภาพหรือแผนภูมิ
2) การนำเสนอและชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้เรียนไม่
เคยรู้มาก่อนก็จำเป็นต้องบอกโดยตรง ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสามารถค้นพบได้ด้วยหลักเหตุผล ผู้สอนก็
อาจนำเสนอความรู้โดยวิธีให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ นอกจากนี้ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
ผู้เรียนบางคนต้องการการชี้แนะจากผู้สอนมากและบางคนก็ไม่ต้องการการชี้แนะ ดังนั้นผู้สอนจึงควรใช้
วิจารณญาณในการดำเนินการ
3) การให้ผู้เรียนปฏิบัติและฝึกฝนจากแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจอย่างถ่องแท้
4) การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน ข้อมูลป้อนกลับที่ให้กับผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายแบ่งได้
2 ประการ คือ ประการแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความมั่นใจในการเรียนรู้
และจุดมุ่งหมายประการสุดท้ายเพื่อให้สารสนเทศเกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนว่าถูกต้องหรือไม่
อย่างไร ช่วยให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ ผลที่
เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และชี้ให้เห็นแนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไข

3. ขั้นสรุป จุดมุ่งหมายในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุป และทบทวนความรู้ที่ได้รับว่าเพิ่มขึ้น
จากเดิมหรือไม่อย่างไร จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร เหตุการณ์การเรียน
การสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
1) การรวบรวมและสังเคราะห์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ เทคนิควิธีที่จะช่วยในการสรุปความรู้ที่
นิยมใช้กัน ได้แก่ การใช้ผังกราฟิก (graphic organizer) คือ แบบของการสื่อสารเพื่อใช้นำเสนอข้อมูล
หรือความรู้ที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ ให้มีความเข้าใจง่าย กะทัดรัด ชัดเจน ผังกราฟิกได้มา
จากการนำข้อมูลดิบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาทำการจัดกระทำข้อมูลโดยอาศัยทักษะการคิด เช่น การสังเกต
เปรียบเทียบ การแยกแยะ การจัดประเภท การเรียงล าดับ การใช้ตัวเลข การวิเคราะห์ การสร้างแบบแผน
จากนั้นจึงมีการเลือกผังกราฟิกเพื่อนำเสนอข้อมูลที่จัดกระทำแล้วตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ผู้
นำเสนอต้องการ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2544) ผังกราฟิกที่นิยมใช้มีหลายรูปแบบ เช่น
(1)แผนผังใยแมงมุม (web) เหมาะส าหรับการคิดแบบโยงความสัมพันธ์ เพื่อให้เห็น
ความสัมพันธ์ของความคิดที่เกี่ยวข้องซึ่งแยกย่อยออกไปได้มากมาย ก่อนที่จะนำมาจัดกลุ่มหรือจัด
ประเภทของความคิด ใช้สำหรับการนำเสนอความคิดที่เกิดจากการระดมสมอง
(2) แผนผังความคิด (mind map) เหมาะสำหรับการสรุปความคิดรวบยอดที่
สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เป็นโครงสร้างทางความคิดที่ประกอบด้วยความคิดหลักเป็นศูนย์กลางซึ่ง
ประกอบด้วยความคิดรอง และความคิดย่อยที่แตกแขนงจากความคิดรองออกไป ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย เช่น แผนผังของอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งแต่ละหมู่ยังประกอบด้วยอาหาร
ชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด
(3) แผนผังแสดงการคิดแบบวงจร (circle) เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่เป็น
กระบวนการต่อเนื่องเป็นวงจร เช่น วงจรการเกิดฝน วงจรชีวิตของยุง เป็นต้น
ยังมีรูปแบบของผังกราฟิกอีกหลายรูปแบบที่ผู้สนใจสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
ลักษณะของข้อมูลและจุดประสงค์ในการนำเสนอ
2) การส่งเสริมให้นักเรียนจดจำความรู้และถ่ายโอนความรู้ โดยให้นักเรียนนำความรู้ไป
ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากแบบฝึกหัด
4. ขั้นประเมินผล จุดมุ่งหมายในขั้นนี้เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามที่
คาดหวังไว้หรือไม่ และเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนเพื่อซ่อมเสริมหรือดำเนินการปรังปรุงแก้ไข


การประเมิน
ตนเอง คิดวิเคราะห์สิ่งที่ตัวเองผิดพลาดและนำไปพัฒนาแก้ไขให้ดีขึ้น
เพื่อน มีความตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และคิดตาม
อาจารย์ คอยชี้แจงพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกาาได้นำไปปรับปรุง


บันทึกการเรียนครั้งที่10

 

สัปดาห์นี้ได้ประดิษฐ์และทำการทดลองเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อจัดกิจกรรมให้กับเพื่อนๆ และเพื่อนต้องสลับกลุ่มกันทำกิจกรรม 




มี่ทั้งหมด  6  กลุ่มดังนี้

1.กลุ่มอาหารดีมีประโยชน์ ประดิษฐ์อาหารจานกระดาษ

2.กลุ่มรักเมืองไทย ประดิษฐ์กระทง

3.กลุ่มสัตว์น้ำ ประดิษฐ์เรือลอยน้ำ

4.กลุ่มผีเสื้อ ประดิษฐ์ผีเสื้อจากกระดาษ

5.กลุ่มฝน ประดิษฐ์การทดลองการเกิดฝน

6.กลุ่มหุ่น ทำหุ่นจากกระดาษ



วัสดุอุปกรณ์ของกลุ่มดิฉัน คือ ประดิษฐ์ผีเสื้อให้บินได้




กลุ่มที่ดิฉันได้ลงมือทำคือ ทำกระทงจากอาหารปลา






การประเมิน
ตนเอง รู้จักการคิดวางแผนก่อนลงมือทำ 
เพื่อน  เพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานของตนเองเป็นอย่างดี
อาจารย์ คอยชี้แนะแนวทางให้เราทำกิจกรรมอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมถูกต้องตามขั้นตอน






บันทึกการเรียนครั้งที่8

 12/10/63



STEM คือ

    เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น

เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระเข้าด้วยกัน นั่นคือ 






Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์


            บทบาทของคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การคิดเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้






ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย
          การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการได้แก่ 
   (1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ 
   (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ 
   (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
   (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย 
   (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา  เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย







ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย
           การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัยผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Active Learning)  มี ความสำคัญต่อการพัฒนาสำหรับเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆดังนี้ 

     1. พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะการคิด ทักษะทางคณิต ศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและทักษะทางสังคม

      2. ส่งเสริมการทำกิจกรรมแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ วิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ด้วยตนเองในหัวข้อเรื่องที่เรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อ พัฒนากำลังคนของประเทศตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย 

    3. กระบวนการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นหัวข้อเรื่องในชีวิตจริงของเด็ก สอดคล้องกับปรัชญา และแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยตั้งคำถาม สืบค้นโดยใช้ ความสามารถในการสังเกต ช่วยเด็กคิดเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานของตน

     4. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด การจัดกิจกรรมเป็นการทำงาน แบบร่วมมือผ่านลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย ฝึกความมีวินัยและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมใน กระบวนการทำงานแบบร่วมมือ 

     5. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนส่งเสริมการกล้าแสดงออก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

     6. ส่งเสริมให้เด็กรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์





องค์ประกอบของสะเต็มที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย 
          การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม (STEM) เริ่มต้นตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยเมื่อพิจารณาจาก ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ วิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้ 

วิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นนัก สำรวจ สนใจธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัว สังเกตและตั้งคำถาม อะไร ทำไม อย่างไรเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์กายภาพอาทิ ลักษณะของวัตถุที่มีน้ำหนัก รูปร่าง ขนาด พื้นผิว สีรูปทรง อุณหภูมิโดยใช้ ประสาทสัมผัส การเคลื่อนที่และแรงจากการผลัก การเป่าและการยก เด็กปฐมวัยเรียนรู้ชีวิตของพืชและสัตว์ ในสภาพแวดล้อม

คณิตศาสตร์ สำหรับความสนใจด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่อง การจำแนก รูปร่าง รูปทรง(พื้นฐานเรขาคณิต) การเปรียบเทียบ และการวัด การจัดลำดับ การนับจำนวนและการใช้ตัวเลข การ รวมเข้าด้วยกัน การหยิบออก และการแบ่งสิ่งของให้เพื่อน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านการเล่น สำหรับพีชคณิตในระดับปฐมวัยเรียนรู้จาก การจำแนก และการแบ่งประเภทหรือเรียกว่าการจัดหมวดหมู่ของวัตถุ ส่วนเรื่องเรขาคณิตนั้นเด็กปฐมวัยเรียนรู้เกี่ยวกับ มิติ ตำแหน่ง ผ่านการเล่นบล็อก และการเล่นอื่นๆ

เทคโนโลยี เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและของเล่นต่างๆที่เป็นเทคโนโลยีซึ่งเด็ก การเรียนรู้ผ่านการเล่น เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือยนต์ต่างๆ การมีประสบการณ์จากสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็น เทคโนโลยีในบ้าน เช่น การถ่ายภาพ การถูกบันทึกภาพด้วยวีดีโอ การดูโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ โทรศัพท์มือถือ สมารต์โฟน นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีผ่านการปรุงอาหารของคุณ แม่ เช่น เครื่องคั่นน้ำผลไม้ เครื่องผสมอาหาร เครื่องตีไข่ เครื่องปั่น หม้อหุงข้าว ตู้เย็น กาต้มน้ำไฟฟ้า เตารีด ผ้า เตาอบ เตาปิ้ง มีด จักรเย็บผ้า สำหรับการเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน และจากอุปกรณ์ ประกอบการทดลองง่ายๆ ได้แก่ แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ หลอดหยด เข็มทิศ ลูกตุ้มนาฬิกาสำหรับวาดภาพ กังหันลม

วิศวกรรมศาสตร์  เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ผ่านงานทางวิศวกรรม-ศาสตร์ในชีวิตประจำวันจาก สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การสร้างสะพาน การทำพื้นให้เอียงแบบสะพาน การทำถนนที่ส่งผลต่อความเร็วของ รถทำถนนที่มีความโค้ง ลาดชัน ถนนที่มีลูกระนาด การสร้างลิฟต์ หรือบันใดเลื่อน การสร้างรถที่มีล้อและเพลา






กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย 
             กระบวนการจัดการเรียนรู้มีหลากหลายแบบ/รูปแบบ สามารถจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเกี่ยวข้อง สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ครูปฐมวัยสามารถเลือกนำมาใช้ได้ให้ เหมาะสมกับหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ ระดับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ความพร้อมของครู และบริบทของโรงเรียน ดังนี้ 
   1. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Proplem Based) 
   2. กระบวนการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน (Project Based) 
   3. กระบวนการเรียนรู้เชิงวิศวกรรม 
   4. การสำรวจแบบสะเต็ม 
   5. การจัดการเรียนรู้ทัศนศึกษาแบบสะเต็ม 
   6. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มกลางแจ้ง 
   7. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มอย่างง่าย 
   8. การจัดศูนย์การเรียนรู้แบบสะเต็ม 
   9. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในกิจกรรมทำอาหาร 
   10. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในการเล่นต่อบล็อก 
   11. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในกิจกรรมศิลปะ 
   12. การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในกิจกรรมดนตรี 




วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยอาจารย์แจกอุปกรณืดังนี้

1. หลอดจำนวน 25 แท่ง
2. เทปใส
3. ดินน้ำมัน (คือวัตถุที่เคลื่อนไปบนหลอด)
4. กระดาษไว้สำหรับออกแบบโครงร่างหลอด
  โดยให้ทำเป็นรางกลิ้งดินน้ำมัน ซึ่งจะต้องให้กลิ้งได้นานที่สุด







การประเมิน
ตนเอง ได้คิดวิเคราะห์ก่อนลงมือทำ และรู้จักการแก้ปัญหาได้ดี
เพื่อน  เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีความตั้งใจมากๆ เพื่อที่จะทำให้ออกมาดีที่สุด
อาจารย์ มีความเปิดให้นักศึกษาได้คิดอย่างอิสระ 

บันทึกการเรียนครั้งที่14

    สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเทอมนี้ ซึ่งอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาและให้นักศึกษาเขียนทบทวนความรู้ที่เราได้เรียนมาทั้งหมด โดยอาจารย...