วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้แนะนำชื่อตัวเองโดยมีการคิดท่าทางประกอบแบบไม่ใช้เสียง ใช้แค่มือ ข้อมือ ขา ให้เราคิดไอเดียขึ้นมาเอง และได้สอนเรื่อง EF
EF (Executive Functions) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา กาวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน
กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกายเพื่อช่วยส่งเสริม EF ให้ดีขึ้น เช่นการเล่นดนตรี เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของ EF เพราะต้องอาศัยทักษะต่างๆ เช่น การมีสมาธิอย่างต่อเนื่อง ความยืดหยุ่นทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน (task switching)
มีผลงานวิจัยใหม่ ๆ ที่สนับสนุนเรื่องการฝึกเล่นดนตรีอาจช่วยให้พัฒนา EF ได้ โดยทีมนักวิจัยจาก Laboratories of Cognitive Neuroscience จาก Boston Children’s Hospital ในรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิจัยเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างในผู้ใหญ่ที่เป็นนักดนตรี และผู้ที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี พบว่า ผู้ที่เป็นนักดนตรี สามารถทำการทดสอบได้ดีกว่า ในด้านความคล่องทางภาษา (verbal fluency) เช่น สามารถคิดคำศัพท์แยกตามประเภท, ความคล่องที่ไม่ใช่ภาษา (design fluency) เช่น การวาดรูปสัญลักษณ์ และรูปทรงต่างๆ และ การจำตัวเลขย้อนกลับ (backward digit span)
ส่วนกลุ่มตัวอย่างในเด็ก งานวิจัยได้เปรียบเทียบเด็กที่เรียนดนตรี และเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี พบว่า เด็กที่เรียนดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าด้านการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตาในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ (coding) ความคล่องทางภาษา (verbal fluency) และ trail making เช่น การลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างวงกลมกับตัวเลขสลับกัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ใช้การสแกนสมองแบบ fMRI พบว่าสมองส่วน prefrontal cortex ในเด็กที่เรียนดนตรีมีการทำงาน (activation) มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี
เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (cross-sectional study) ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าการเรียนดนตรีจะสามารถพัฒนา EF ให้ดีมากขึ้น ยังต้องการผลการวิจัยแบบระยะยาว (longitudinal study) มารองรับด้วย
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า เด็กในช่วงวัย 3-6 ปี จะเป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดี ที่สุด หากพ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
EF หรือ Executive Functions จะประกอบด้วย ทักษะ 9 ด้าน คือ
กลุ่มทักษะพื้นฐาน
1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์
กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมาย ให้เป็นขั้นตอน รวมถึงรู้ตัวว่า กำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
กลุ่มทักษะปฏิบัติ
7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่นไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อให้เกิดการ “ฝังชิป” เป็นโครงสร้างในสมองของเด็ก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ซึ่งเมื่อฝังตัวแล้วก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต
และอาจารย์ก็ได้สอนร้องเพลง
เพลงทักษะพื้นฐาน
แต่งโดยดร.จินตนา สุขสำราญ
ทักษะ ทักษะพื้นฐาน เรื่องราวเล่าขานความจำเพื่อใช้งาน
ตรึกตรองชั่งใจนานนาน (ซ้ำ) ยืดหยุ่นสำราญคิดนอกกรอบเอย(ซ้ำ)
ทักษะกำกับตนเอง
แต่งโดยดร.จินตนา สุขสำราญ
จดจ่อ สมาธิมั่น ควบคุมนั้นหนาอารมณ์ตนเอง
ทบทวน ทบทวนโดยพลัน(ซ้ำ) อย่าหุนหันปรับแก้ให้ดี(ซ้ำ)
ทักษะปฏิบัติ
แต่งโดยดร.จินตนา สุขสำรา
คิดแล้วต้องลงมือ วางแผนนั้นหรือเพื่อดำเนินการ
พากเพียร พากเพียรจนนชำนาญ(ซ้ำ) สุข...สราญบรรลุเป้าไปเลย(ซ้ำ)
ตรึกตรองชั่งใจนานนาน (ซ้ำ) ยืดหยุ่นสำราญคิดนอกกรอบเอย(ซ้ำ)
ทักษะกำกับตนเอง
แต่งโดยดร.จินตนา สุขสำราญ
จดจ่อ สมาธิมั่น ควบคุมนั้นหนาอารมณ์ตนเอง
ทบทวน ทบทวนโดยพลัน(ซ้ำ) อย่าหุนหันปรับแก้ให้ดี(ซ้ำ)
ทักษะปฏิบัติ
แต่งโดยดร.จินตนา สุขสำรา
คิดแล้วต้องลงมือ วางแผนนั้นหรือเพื่อดำเนินการ
พากเพียร พากเพียรจนนชำนาญ(ซ้ำ) สุข...สราญบรรลุเป้าไปเลย(ซ้ำ)
ตนเอง: มีความตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังเรื่องที่อาจารย์สอน
อาจารย์: มีการทำกิจกรรมก่อนเรียนที่ช่วยทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ
เพื่อน: เพื่อนๆมีความระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น